789 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคข้อเสื่อมโดยเฉพาะข้อเข่า เริ่มพบได้มากขึ้นในกลุ่มประชาชน ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ( ค.ศ. 2000-2020 ) เป็นปัญหาของคนวัยทำงาน ตัวเลขในประเทศอังกฤษ โรคข้อเข่าเสื่อมจะพบได้ประมาณ 18% ของประชากร โรคข้อ เข่าเสื่อมเกิดจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนที่ปลายของกระดูกข้อต่อ ทั้งจากอายุขัยมากขึ้นตลอดจนมาจากปัจจัยร่วมอื่นอีกหลายสาเหตุ
ในที่นี้จะได้นำเสนอแนวทางในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมแบบผสมผสานทั้งการใช้ยาเคมีรวมไปถึงมาตราการที่รักษาร่วมอื่น ๆ ที่ไม่ต้องยา
มาตรฐานที่ยกมาได้แก่ European League Against Rheumatism ( EULAR ) จะนิยมใช้ในประเทศอังกฤษและประเทศในยุโรป ที่ใช้แนวทางการรักษาแบบผสมผสานทั้งการใช้ยาเคมีร่วมกับการรักษาแนวประคับประคองแบบธรรมชาติมีทั้งหมด 10 ข้อด้วยกัน
1. การรักษาที่เหมาะสมของโรคข้อเข่าเสื่อมควรประกอบไปด้วยการใช้ยาแผนปัจจุบันร่วมกบัการไม่ใช้ยาเคมี4. ในต่างประเทศยังนิยมใช้ Paracetamol (พาราเซตตามอล ) เป็นยาลดปวดอันดับแรกอยู่ และถ้าลดอาการปวดได้ ก็จะเป็นการใช้ในระยะยาว ( ประเทศในยุโรป รับทราบภัยอันตรายต่อการใช้ยาเกินขนาดเป็นอย่างดีกว่าบ้านเรา )
5. การใช้ยาต้านอักเสบแบบ ( NSAID ) ในรูปแบบการทา และผลิตภัณฑ์ที่มาจากสารสกัดจากพริก ( Capsaicin ) ถือได้ว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
6. การใช้ยาต้านอักเสบ (NSAID ) จะใช้ต่อเมื่อกินยาพาราเซตตามอลเพื่อลดปวดแล้ว ไม่ได้ผล
7. ยาแก้ปวดที่เข้าพวกฝิ่นหรือมอร์ฟีน ร่วมกับการใช้พาราเซตตามอลนั้นเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนป่วยที่ใช้ยาในข้อ 6 ไม่ได้ ( จากการแพ้ หรือปัญหาทางกระเพาะอาหารระคายเคือง )
8. ยาจำพวกเสริมสร้างกระดูกอ่อนในข้อต่อที่เสื่อมสภาพ จำพวก Glucosamine sulphate ,Chondroitin sulphate จากการสรุปทางคลินิกของนักวิจัยสรุปได้ว่า ช่วยรักษาตามอาการได้แต่อาจได้ผลในการปรับโครงสร้างภายในข้อ
9. การใช้ยากลุ่มยาฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อเข่านั้นมีข้อบ่งชี้ว่าในกรณีที่มีอาการปวดเข่ามากและมีน้ำในข้อเข่าร่วมด้วยและมีอาการปวดข้อมากขึ้นทั้งๆที่ได้รับการักษามาแล้ว
10. การพิจารณาผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าต้องมีข้อบ่งชี้ว่าภาพในเอกเรย์ พบการเสื่อมโครงสร้างของข้อเข่า และใช้การรักษาทุกอย่างยังมีอาการปวดมาก จนไม่สามารถทำงานหรือใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ
นพ.อำนาจ ชัยชลทรัพย์