เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ากระเทียมมีประโยชน์มากมาย แต่หากรับประทานเยอะเกินไปอาจทำให้เกิดผลเสียเหมือนกัน ยิ่งรับประทานน้ำมันกระเทียมสกัดเข้มข้นในปริมาณสูงจะยิ่งระคายเคืองกับกระเพาะอาหาร และอาจทำให้เกิดอันตรายได้
ฉะนั้นผู้ผลิตน้ำมันกระเทียมชนิดแคปซูลทุกยี่ห้อจะต้องมีวิธีการทำให้เจือจางก่อนด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยมากจะนิยมนำไปผสมกับน้ำมันชนิดอื่น ๆ เช่นน้ำมันรำข้าว น้ำมันงา น้ำมันมันมะพร้าว เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามสูตรและงานวิจัยของแต่ละยี่ห้อนั้น ๆ
บางยี่ห้อจะบอกให้ทราบไว้เลยว่าผสมกับน้ำมันอะไร แต่บางยี่ห้ออาจจะมีเหตุผลบางอย่างจึงอาจจะไม่ได้บอกไว้ ส่วนของ IMMOR ได้ระบุชัดว่าเราเลือกผสมกับน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ซึ่งมาดูกันว่าทำไม IMMOR จึงเลือกผสมกับน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น
ก่อนอื่นต้องขอแยกคุณสมบัติของน้ำมันมะพร้าวและกระเทียมให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน เพื่อที่ทุกท่านจะได้เข้าใจไอเดียว่า การที่เราทำการผสมสารสกัดน้ำมันมะพร้าวและกระเทียมเข้าด้วยกันจะส่งผลดีได้อย่างไร
จุดเด่นและคุณสมบัติของกระเทียม
✅ กระเทียมมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีส่วนช่วยป้องกันอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม แถมยังช่วยลดความเครียดและลดการออกซิเดชั่น มีผลการศึกษาจากทั้งในและต่างประเทศพบว่า หากทานกระเทียมเสริม จะสามารถเพิ่มเอนไซม์ต่อต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งลดความเครียดออกซิเดชันในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญ แถมยังสามารถลดอัตราการเกิดของโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ได้อีกด้วย
✅ การรับประทานกระเทียมช่วยทำให้เสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ได้มีการศึกษาพบว่า ในสตรีวัยหมดประจำเดือน หากได้รับประทานกระเทียมปริมาณวันละ 2 กรัม พบว่ากระดูกมีความแข็งแรงมากขึ้น และยังมีส่วนช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเอสโตรเจนได้ดีอีกด้วย
✅ กระเทียมสามารถลดความดันโลหิต และช่วยป้องกันโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด เช่นโรคหัวใจได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย โดยปริมาณที่แนะนำเราควรรับประทานประมาณ 4 กลีบต่อวัน
จุดเด่นและคุณสมบัติของน้ำมันมะพร้าว
✅ มีหลายๆบทความและงานวิจัยทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ได้ยืนยันตรงกันว่าน้ำมันมะพร้าวนั้นมีไขมันอิ่มตัวสูงและถึงจะเป็นน้ำมัน แต่ก็มีผลแตกต่างจากไขมันทั่วไปในอาหารที่เรารับประทานกัน เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวเป็นกรดไขมันอิ่มตัวขนาดกลาง (Medium chain fatty acids – MCFAs) ไขมันเหล่านี้สามารถเพิ่มการเผาผลาญไขมัน ทำให้ร่างกายและสมองของคุณมีพลังงานอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้น้ำมันมะพร้าวยังเพิ่มคอเลสเตอรอล HDL ที่เป็นคลอเรสเตอรอลดีในเลือดของคุณอีกด้วย ทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจลดลง
✅ ในแง่ของการชะลอวัย น้ำมันมะพร้าวมีส่วนช่วยในการป้องกันเส้นผมและผิวหนังจากแสงแดดได้ถึง 20% จะเห็นได้ว่ามีเครื่องสำอางประทินผิวหลายๆยี่ห้อมักจะใช้น้ำมันมะพร้าวมาเป็นส่วนผสมหลัก นอกจากนี้น้ำมันมะพร้าวยังสามารถบำรุงผิวและให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้คุณกลับมามีสุขภาพผิวสมบูรณ์และแข็งแรงได้อีกครั้ง
✅ ช่วยลดไขมันหน้าท้อง รู้หรือไม่ว่าน้ำมันมะพร้าวช่วยลดความอยากในการรับประทานอาหาร แถมยังเพิ่มการเผาผลาญให้แก่ร่างกาย
แล้วเมื่อคุณสมบัติระหว่างกระเทียมกับน้ำมันมะพร้าวมารวมตัวกันจะเกิดผลดีต่อร่างกายอย่างไร?
จากสรรพคุณอันยาวเหยียดของสารสกัดจากธรรมชาติทั้ง 2 ชนิดอย่างน้ำมันกระเทียมและน้ำมันมะพร้าว เมื่อเรานำมารวมตัวหรือผสมกัน มันจะทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างกรดคาปริลิก (CAPRILIC ACID) ในน้ำมันมะพร้าว กับกำมะถันหรือซัลเฟอร์ (SULFUR) ในน้ำมันกระเทียม ซึ่งทำให้มีผลเกิดการพัฒนากลายเป็นสารต้านอนุมูลอิสระขึ้นมาตัวหนึ่งชื่อว่า กรดอัลฟ่าไลโปอิก (ALPHA LIPOIC ACID) หรือที่เรียกว่าสารอาหารมหัศจรรย์
ซึ่งจากงานวิจัยค้นพบว่า กรดอัลฟ่าไลโปอิกมีบทบาทในการช่วยดูแลสุขภาพมากมาย ยิ่งไปกว่านั้นกรดอัลฟาไลโปอิกมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระของกรดอัลฟาไลโปอิคนั้น ได้รับการเชื่อมโยงกับระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ลดการอักเสบ แถมที่สำคัญยังลดริ้วรอยผิวให้เกิดช้าลง และเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาทให้ดีขึ้นอีกด้วย
สารต้านอนุมูลอิสระที่ให้ผลดีกว่าวิตามิน C และวิตามิน E กว่า 50 เท่า
กระเทียม เป็นมีฤทธิ์ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย สารอัลลิซิน (allicin) และซัลไฟด์ (sulfides) ในกระเทียมช่วยเพิ่มการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค และยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย
กระเทียมช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน โดยจะไปเพิ่มจำนวนและการทำงานของเม็ดเลือดขาว ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายสามารถกำจัดสิ่งแปลกปลอมเชื้อโรคต่างๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกายได้ดี
ได้มีรายงานถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของกระเทียม คือเป็น antiseptic (ยาฆ่าเชื้อ) , antispasmodic agents (ยาคลายกล้ามเนื้อ), และสามารถรักษา bronchial asthma (หอบหืด), rheumatism (รูมาตอยด์) , hypertension (ความดันโลหิตสูง) และป้องกัน atherosclerosis (หลอดเลือดแข็งตัว)ได้
กระเทียมยังมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ต่อมาได้มีการศึกษาพบว่าสารสกัดกระเทียมสามารถยับยั้งการเติบโตของ Mycobacterium tuberculosis (เชื้อวัณโรค) ได้ และยังพบว่าสารสกัดกระเทียมสามารถยับยั้งการเจริญได้ทั้งแบคทีเรียกรัมบวก และกรัมลบ อีกทั้งยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อกรัมลบที่เพนนิซิลินไม่สามารถยับยั้งได้ คือ สามารถยังยั้งการเจริญของ Salmonella typhimurium และ Escherichia Coli (อีโคไล) ได้